ถังบำบัดน้ำเสีย สำเร็จรูป หรือ ถังแซท

ถังบำบัดน้ำเสีย สำเร็จรูป หรือที่หลายคนเรียกมันว่า “ถังแซท” หรือบางคนออกเสียงเพี้ยน เป็น “ถังแซก” เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียหรือกากที่ตกตะกอนอยู่ด้านล่างของบ่อหรือตัวถัง หลังจากนั้นในส่วนที่เป็นน้ำก็จะถูกปล่อยไปยังท่อระบายน้ำสาธารณะนั่นเอง ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้ตัวถังนั้นมีโอกาสเต็มได้ยาก ทำให้ท่านสามารถลดปัญหาในเรื่องของการใช้บริการรถดูดส้วมบ่อยครั้งไปได้เลยทีเดียว

สอบถามโทร 092-442-3899

สอบถามโทร 065-3516155

 ถังบำบัดน้ำเสีย สำเร็จรูป 

ถังแซท ถังบ่อเกรอะ ถังบำบัดน้ำเสีย ขนาด ต่างๆ

สำหรับต้วขนาดด้านล่างเป็นเพียงขนาดที่ได้รับความนิยมสำหรับลูกค้าต่างๆ ที่นำไปใช้งาน สำหรับภายในภายในบ้านและอาคาร ตามความเหมาะสม ของจำนวนผู้ใช้งานในแต่ละพื้นที่ ถ้าหากตัวบ่อของเรามีขนาดที่เล็กหรือใหญ่กว่าความต้องการของลูกค้า สามารถสอบถามเพิ่มเติมจากทีมงานฝ่ายขายได้  เพื่อสั่งผลิตและจัดส่งให้กับท่าน

ถังบำบัด แบบต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

สำหรับถังบำบัดน้ำเสียที่เราวางจำหน่าย มีให้ท่านเลือกแทบทุกขนาด รองรับการนำไปใช้งานได้แทบทุกรูปแบบ ตั้งแต่ถังบำบัดขนาดเล็กสำหรับนำไปใช้ในห้องน้ำในบ้าน นอกบ้าน ที่มีผู้ใช้งาน 2 – 3 คน ถังขนาดกลางใช้ในโฮมสเตย์หรือรีสอร์ทที่มีผู้ใช้งาน มากกว่า 10 – 20 คน ถังสำหรับใช้ในโรงงานขนาดใหญ่ที่มีบุคลากรจำนวนมาก หรือบางพื้นที่ที่ต้องการถังบำบัดน้ำเสียที่ช่วยควบคุมค่า BOD ให้ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร  ซึ่งเป็นข้อบังคับที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดไว้ให้ปฎิบัติตามเราก็มีให้คุณได้เลือกสรร โดยเรามีถังบำบัดน้ำเสีย ขนาดเริ่มต้นตั้งแต่ 600 ลิตร , 1000 ลิตร ไปจนถึง 60,000 ลิตร เลยทีเดียว

ถังแซท บำบัดน้ำเสีย แบบไม่เติมอากาศ

ถังบำบัด ไม่เติมอากาศ

ภายในแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นถังเกรอะ และที่เป็น ส่วนกรอง ส่วนเกรอะเป็นส่วนที่แยกตะกอนและกากขนาดใหญ่ให้ล่วงลงสู่ด้านล่างของตัวถัง หากแยกตะกอนออกไม่หมดส่วนกรองจะกรองส่วนที่เกรอะแยกออกไม่หมดอีกชั้นนึง โดยใช้จุลินทรีย์ที่อยู่ภายในกำจัดตะกอนที่หลงเหลือให้หมดสิ้น ก่อนปล่อยน้ำที่ถูกบำบัดไหลออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือบ่อพักต่อไป ส่วนใหญ่นิยมใช้กับงานทั่วไป เช่น บ้าน อาคารพาณิชย์ รีสอร์ท ร้านค้า ฯลฯ
ถังบำบัดน้ำเสีย สำเร็จรูป แบบเติมอากาศ

ถังบำบัด เติมอากาศ

สำหรับรุ่นนี้จะมีราคามากกว่า ถังบำบัดนำเสียแบบไม่เติมอากาศ เนื่องจากจะมีท่อลมเพิ่มขึ้นมาสำหรับเติมอากาศเข้าไปภายในตัวถัง ซึ่งต้องต่อท่อลมเข้ากับระบบปั้มจากภายนอก เป็นการบำบัดโดยใช้จุลชีพในอากาศช่วยอีกแรงหนึ่ง ทำให้กลิ่นไม่พึงประงค์เบาบาง เจือจางลง เป็นไปตามข้อบังคับของกรมควบคุมมลพิษ ส่วนใหญ่ใช้ในการก่อสร้างขนาดใหญ่เช่น โรงแรม, โรงเรียน, โรงงานอุตสาหะกรรม และโรงพยาบาลเป็นต้น
ถังบำบัดน้ำเสีย ทรงแคปซูล ขนาดเล็ก

ถังบำบัดน้ำ ทรงแคปซูล

ถังบำบัดไฟเบอร์กลาส มีราคาแพงกว่าถังบำบัดโพลีเอทธิลีน ( Ethylene ) เนื่องจากวัสดุที่ใช้ผลิตถังบำบัดชนิดนี้เป็น พลาสติกเสริมแรง มีส่วนประกอบของเส้นใยแก้ว ทำให้ได้ถังบำบัดที่มีคุณสมบัติ หยืดหยุ่น เหนียว มีความแข็งแรง คงทน และรับแรงได้ดีพลาสติกทั่วไป สำหรับถังบำบัดไฟเบอร์กลาสมีให้เลือก 2 ทรง เช่นกัน ทั้งแบบทรงกลม และแบบแคปซูล
ถังบำบัดน้ำเสีย ทรงแคปซูล ขนาดใหญ่

ถังแซท ทรงแคปซูล

สำหรับรุ่นนี้มาด้วยรูปทรงที่แปลกตาคล้าย แคปซูล โดดเด่นด้วยความจุที่รองรับการใช้งานที่มากมาย ความจุเริ่มต้น 10,000 ลิตร จนถึง 60,000 ลิตร รองรับการใช้งานขนาดกลาง ใหญ่ จนถึงขนาดใหญ่มาก ภายในมีด้วยกัน 3 ส่วน คือ ส่วนเกรอะ, ส่วนบำบัดไร้อากาศ และส่วนตกตะกอนในใบเดียวกัน มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำที่ส่วนบำบัดไร้อากาศสูงถึง 80-85% เพื่อให้น้ำมีค่า BOD ที่ต่ำ ก่อนผ่านกระบวนการการแยกจุลินทรีย์ในส่วนสุดท้ายเพื่อให้ได้น้ำที่ใสก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำ
ถังบำบัดน้ำเสีย

ถังแซทบำบัดน้ำเสีย สำเร็จรูป เต็ม  เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

อย่างที่เราทราบกันดีว่าของทุกอย่างเมื่อมีการใช้งานมาอย่างยาวนานย่อมมีการเสื่อมสภาพ หรือการใช้งานที่ไม่ถูกวิธีก็อาจจะใช้งานวัสดุหรือเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ไม่เต็มที่นั่นเอง และแน่นอนว่าตัวถังแซทเอง ก็เช่นเดียวกับเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์อื่นๆเช่นเดียวกัน หากมีการใช้งานที่ไม่ถูกต้องไม่ถูกวิธี หรือถูกทำลายกระบวนการทำงานด้วยสาเหตุที่อาจจะจงใจหรือไม่จงใจก็ตาม ก็สามารถที่จะทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานนั้นลดลงตามไปด้วยเช่นเดียวกันนั่นเอง

สาเหตุหลักที่ทำให้ ถังบำบัดน้ำเสีย เต็มนั้น สามารถสรุปคราวๆได้ดังนี้

สาเหตุหลักที่ทำให้ถังแซทเต็มหลัก ๆ แล้วนั้นมักจะพบกันได้หลักๆที่เห็นได้อย่างชัดเจน นั่นก็คือ “ในถังแซท หรือถังบำบัด มีจุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการย่อยกากของเสียต่างๆที่อยู่ในส่วนของก้นถัง มีจำนวนน้อยเกินไปซึ่งทำให้ย่อยสลายกากไม่ทัน” นั่นเอง โดยสิ่งเหล่านี้ อาจจะเกิดจากปัจจัยต่างหลากหลายสาเหตุ เช่น

  • การใช้ในส่วนของน้ำยาล้างห้องน้ำ ที่มีความเป็นกรดเป็นด่างอย่างรุ่นเองในส่วนของโถสุขภัณฑ์บ่อยๆ หรือในปริมาณมากจนเกิดไปจนไปทำลาจุลินทรีย์ตาย จนเป็นสาเหตุให้ปริมาณไม่เพียงพอต่อย่อยสลายกากนั่นเอง
  • สาเหตุต่อมาที่มักจะพบกันได้บ่อยที่สุดนั่นก็คือการใช้ถังที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน ซึ่งกรณีนี้จะเห็นได้บ่อยมากถึงมากที่สุดเพราะในพื้นที่บางพื้นที่มีผู้มาใช้งานอยู่ตลอดเวลาๆ แต่มีขนาดของตัวถังเก็บที่เล็กดังนั้นจึงทำให้ขนาดของตัวถังมีโอกาสเต็มได้ง่ายโดยวิธีนี้อาจจะมีความจำเป็นต้องขุดเปลี่ยนถังใหม่ หรือต่อถังเพิ่มกันเลยทีเดียว ดังนั้นสาเหตุนี้หากท่านจะต้องสั่งซื้อควรมีการคำนวณขนาดของตัวถังให้เหมาะสมกับการใช้งานด้วย
  • สาเหตุสุดท้ายไม่ได้เป็นการเต็มของถังแต่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้กดชักโครกไม่ลง นั่นก็คือในส่วนของงานติดตั้งนั่นเอง โดยสาเหตุจากการติดตั้งที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่
    • การติดสุขภัณฑ์ไม่ถูกต้อง
    • ติดตั้งท่ออากาศผิดวิธี
    • ตัวรางระบบน้ำด้านนอกมีขนาดสูงตัวท่อระบบน้ำภายในบ้านก็มีผลเช่นเดียวกัน

    นอกจากนั้นแล้วยังมีสาเหตุอื่นๆที่เกียวข้องอีกมากมาย มีสิ่งของไปอุดอยู่ในท่ออากาศทำให้ท่ออากาศตัน ในส่วนของตัวท่อระบายน้ำเสียมีของอุดทำให้ตัน เป็นต้นนั่นเงอ

วิธีคำนวนขนาดถังแซท เก็บของเสีย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ขั้นตอนการคำนวนหาปริมาณหรือจำนวนลิตรที่เหมาะสมกับการใช้งานนั่นสามารถทำได้ไม่อยาก เพราะมีสูตรในการคำนวนเรียบร้อยแล้ว แต่ก่อนอื่นเราต้องทราบข้อมูลดังต่อไปนี้เพื่อใช้ในการคำนวน

  • จำนวนผู้ที่พักอาศัยหรือจำนวนผู้ใช้งานห้องน้ำ
  • จำนวนการใช้น้ำของคนในแต่ละวัน ถ้าหากไม่ทราบให้ลองคำนวนจากการกดชักโครก 1 ครั้งใช้น้ำประมาณ 8-12 ลิตร  แต่ชักโครกบางรุ่นอาจจะต่ำกว่านี้ดังนั้นให้ลองประเมินคราวๆ หากเป็นบ้านของเราเองและเราเอง อยู่บ้านใช้ห้องน้ำที่บ้านตลอดเวลา จะใช้ห้องน้ำประมาณ 5 ครั้งต่อวัน เท่ากับใช้น้ำในห้องส้วมประมาณ 40 ลิตรต่อวัน

สูตรการคำนวนมีอยู่ว่า จำนวนผู้อาศัย x 0.8 x ปริมาณน้ำใช้ต่อคนต่อวัน (ลิตร) x 1.5= ขนาดของตัวถัง (ลิตร )
ยกตัวอย่างเช่น มีผู้อาศัย 5 คน จะได้ ขนาดของตัวถังอยู่ที่ 5×0.8x40x1.5 = 240ลิตร

วิธีแก้ถังแซทเต็มจากสาเหตุข้างต้น

หากถังแซทเต็มจากกรณีที่มีขนาดไม่เหมาะสมกับปริมาณการใช้งาน อาจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถังใหม่
หากมีปริมาณตัวจุลลินทรีย์ไม่เพียงพอ สามารถใช้วิธีการซื้อจุลลินทรีย์มาเติมลงในถังบำบัดโดยหรือหรือเติมผ่านตัวโถสุขภัณฑ์ก็ได้เช่นเดียวกัน รวมถึงการลดความถี่หรือจำนวนครั้งในการล่างตัวโถสุขภัณฑ์ด้วยการใช้น้ำยาที่มีกรดด่างอย่างรุ่นแรงให้น้อยลงนั่นเอง (วิธีสังเกตุในกรณีที่จุลลินทรีย์ไม่เพียงพอมักจะมีกลิ่นเหม็นเกิดขึ้น)

ถังบำบัดน้ำเสีย แนวตั้ง ฝังดิน